วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ทองหยิบ

     
        ถ้าจะให้กล่าวถึงขนมไทย คงจะหนีไม่พ้นขนมหวานสีเหลืองทอง “ทองหยิบ-ทองหยอด” ที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน  ซึ่งนอกจากรสชาติความอร่อยที่แสนหวานแล้ว ทองหยิบทองหยอดยังเป็นขนมไทยอันดับต้นๆที่นิยมใช้ในงานมงคลต่างๆอีกด้วย เอาล่ะ รู้จักทองหยิบทองหยอดกันมานิดๆหน่อยๆแล้ว คราวนี้เรามาตามรอยที่มาของขนมหวานสีทองชนิดนี้กันเถอะค่ะ

       หลายคนเข้าใจว่าทองหยิบทองหยอดนั้นเป็นขนมไทยแท้ๆ ซึ่งในความจริงแล้วขนมทองหยิบทองหยอดเกิดขึ้นเมื่อ   สมัยอยุธยา หลังประเทศไทยเริ่มมีการเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับต่างประเทศทั้งชาติตะวันออกและตะวันตกแล้วนั้น จึงได้นำเอาวัฒนธรรมด้านอาหารของชาติต่างๆ มาดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่ เครื่องมือเครื่องใช้ วัตถุดิบที่หาได้ ตลอดจนนิสัยการบริโภคของคนไทยเอง จนบางทีคนรุ่นหลังแทบจะแยกไม่ออกเลยว่า อะไรคือขนมไทยแท้ๆ อะไรที่เรายืมเค้ามา เช่น ทองหยิบ ทองหยอดและฝอยทอง

              หลายท่านอาจคิดว่าเป็นของไทยแท้ๆ แต่ความจริงแล้วมีต้นกำเนิดจากประเทศโปรตุเกส โดย “มารี กีมาร์” หรือ “ท้าวทองกีบม้า” ซึ่งมีเชื้อสายโปรตุเกส-ญี่ปุ่น เขาและครอบครัวได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานในอยุธยา ภายหลังจากพวกซามูไรชุดแรกจะเดินทางเข้ามาเป็นทหารอาสา ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ต่อมามารีก็ได้เข้ารับราชการในพระราชวัง  ในตำแหน่งหัวหน้าห้องเครื่องต้น และมียศตำแหน่งเป็นท้าวทองกีบม้า มีหน้าที่ดูแลเครื่องเงินเครื่องทองของหลวง แต่ในขณะที่รับราชการอยู่ในวังนั้น ท้าวทองกีบม้า ก็ได้ถ่ายทอดตำรับตำราอาหารจากประเทศโปรตุเกส โดยเฉพาะอาหารหวานจำพวกทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง และขนมผิง แก่บรรดาข้าราชบริพารและผู้หญิงที่ทำงานอยู่ภายในวัง จนในที่สุดตำรับการทำขนมทองหยิบ ทองหยอดก็แพร่กระจายในหมู่คนไทยโดยถ้วนทั่วจวบจนทุกวันนี้

        ถึงแม้ว่าขนมทองหยิบทองหยอดจะไม่ได้มีต้นกำเนิดมาจากประเทศไทยแท้ๆ แต่ด้วยความเป็นขนมหวานคู่บ้านคู่เมืองมาตั้งแต่สมัยอยุธยานั้น คนไทยจึงได้ถือเอาขนมทองหยิบทองหยอดขึ้นเป็นขนมไทยโบราณ และยังเป็นที่นิยมสำหรับงานมงคลพิธีต่างๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันสืบต่อมาค่ะ


ทองหยิบ

ทองหยิบ
          ทองหยิบ เป็นขนมโบราณที่อยู่ในชุดของขนมที่ใช้ในงานมงคลต่าง ๆ เช่นกันเพราะขึ้น ต้นด้วยทองซึ่งมีลักษณะและสีคล้ายกัน ทั้งทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ดังนั้น เมื่อนำมาใช้ในพิธีจะใช้เป็นชุดทั้งหมด ซึ่งนอกจากจะถือเคล็ดที่ชื่อขนมขึ้นต้นด้วยทอง แล้ว ยังถือเคล็ดชื่อต่อท้ายคือหยิบ ซึ่งหมายถึง หยิบเงิน หยิบทองอันจะนำไปสู่ความ ร่ำรวยต่อไป

ทองหยอด


ทองหยอด
          ทองหยอด เป็นขนมโบราณชนิดหนึ่งซึ่งท่านผู้หญิงวิชเยนทร์ หรือนามเดิม มารี นินยา เดอ กีย์มาร์ เชื้อสายญี่ปุ่น – โปรตุเกส ภรรยาเจ้าพระยาวิชเยนทร์ (นามเดิมคอนสแตน ติน ฟอลคอลชาวกรีก) ท่านผู้หญิงวิชเยนทร์ มีตำแหน่งเป็นท้าวทองกีบม้า เป็นตำแหน่ง ผู้ปรุงอาหารหลวงโดยท่านได้นำเอาความรู้ที่มีมาแต่เดิมผสมผสานกับความรู้ท้องถิ่น

ฝอยทอง


ฝอยทอง
          ฝอยทอง ขนมไทยอีกชนิดหนึ่งที่มีประวัติอันยาวนาน เกิดขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีชาวโปรตุเกสนำสูตรขนมฝอยทองมาเผยแพร่ให้แก่คนไทย ซึ่งตามปกติขนมไทยแท้ๆจะไม่เอาไข่เป็นส่วนผสมในการทำขนมกันนัก ส่วนใหญ่จะเป็น แป้ง กะทิ น้ำตาล มะพร้าวมากกว่าอย่างอื่น
เมื่อชาวโปรตุเกสเข้ามาค้าขายกับคนไทยในยุคนั้นก็จะพาแม่บ้านมาด้วย เลยได้สอนการทำฝอยทองให้แก่คนไทยจนเป็นที่ถูกอกถูกใจทำกินจนถึงปัจจุบันฝอยทองเป็นขนมโปรตุเกส ลักษณะเป็นเส้นฝอยๆ สีทอง ทำจากไข่แดงของไข่เป็ด เคี่ยวในน้ำเดือดและน้ำตาลทราย ชาวโปรตุเกสใช้รับประทานกับขนมปัง กับอาหารมื้อหลักจำพวกเนื้อสัตว์ และใช้รับประทานกับขนมเค้กโดยมีกำเนิดจากเมืองอาไวโร่ เมืองชายฝั่งทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศโปรตุเกส

เม็ดขนุน


เม็ดขนุน
          เม็ดขนุน เป็นขนมที่ถือเป็นยอดขนมในสมัยโบราณชนิดหนึ่งใช้สำหรับเลี้ยง พระหรือเลี้ยงแขกโดยในสมัยโบราณจะ ใช้เม็ดขนุนต้มให้สุกแล้วบดละเอียดนำ ไปกวนแล้วปั้นให้เหมือนเม็ดขนุนจริงๆ จึงเรียกว่าเม็ดขนุนในปัจจุบันใช้วัสดุ หลายอย่างเช่นแห้ว เผือก สาเก และถั่วเขียว แต่ที่ได้รับความนิยมจะเป็นเม็ดขนุนถั่วและเผือก เป็นหนึ่งใน ขนม ตระกูลทองเช่นกัน มี สีเหลืองทอง รูปร่างลักษณะคล้ายกับ เม็ดขนุน ข้างในมีไส้ทำด้วย ถั่วเขียวบด มี ความเชื่อกันว่า ชื่อของ ขนมเม็ดขนุน จะเป็น สิริมงคล ช่วยให้มีคนสนับสนุน หนุนเนื่อง ในการดำเนินชีวิตและในหน้าที่การงานหรือ กิจการต่างๆ ที่ได้กระทำอยู่

บทสัมภาษณ์ร้านนงลักษณ์ขนมไทย